Zoom เปิดงานวิจัยล่าสุด “อนาคตการศึกษา: บทเรียนจากครูผู้สอน” ชี้นักการศึกษาที่ดีต้องใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลให้เป็น

Spread the love

 

Zoom Video Communications, Inc. หรือ ซูม (ZOOM) เปิดเผยรายงานการวิจัยล่าสุด “อนาคตการศึกษา: บทเรียนจากครูผู้สอน” ที่แสดงให้เห็นถึงความต้องการของสถาบันการศึกษาในเอเชียแปซิฟิกในการพัฒนาทักษะของบุคลากรในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนสอน โดยมุ่งเน้นให้ดิจิทัลแพลตฟอร์มเป็นเครื่องมือช่วยพัฒนาการสอนสำหรับครู การช่วยให้ครูที่มีเวลาจำกัดสามารถสอนออนไลน์ในเวลาที่สะดวก และช่วยในการฝึกอบรมการสอน ผ่านการอัดวีดีโอในห้องเรียน เพื่อสามารถมอร์นิเตอร์การสอนของครูเพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาได้โดยง่าย

 

เนื่องจากวิธีการดั้งเดิมของการเรียนการสอนในห้องเรียนไม่ใช่วิธีการที่มีประสิทธิภาพอีกต่อไป การศึกษาจำเป็นต้องพัฒนาอย่างมากและรวดเร็วเพื่อลดอุปสรรคต่อผู้เรียนทั่วโลกให้เหลือน้อยที่สุด ครูและผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องทำงานเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเพื่อจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนแบบดิจิทัล และประยุกต์กรอบแนวคิดศาสตร์การสอน ให้เข้ากับความเป็นจริงใหม่ของการศึกษา

 

ในขณะที่ชั้นเรียนในห้องเรียนจริงกลับมาทำได้เป็นปกติอีกครั้ง แต่หลายโรงเรียนในเอเชียแปซิฟิกยังทำการเรียนการสอนแบบไฮบิดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหมายความว่าบทเรียนที่นักการศึกษาได้รับระหว่างการแพร่ระบาดของโควิด 19 ได้มีความสำคัญอย่างมากต่อการกำหนดอนาคตของนวัตกรรมการศึกษาในภูมิภาคนี้

 

Zoom ได้เปิดรายงานวิจัยเรื่องนี้ระหว่างการประชุม Zoom APAC Education Summit ที่ประมวลการเปลี่ยนผ่านสู่การเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ที่สำคัญในสถานการณ์โควิด 19 รวมถึงคำแนะนำที่จะช่วยให้ครูและผู้บริการสถาบันการศึกษาสร้างอนาคตของการศึกษาในแบบผสมผสานระหว่างออนไลน์และออฟไลน์ งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นโดย Intelligence Business Research Services (IBRS) หน่วยงานเชี่ยวชาญด้านข้อมูลและการสื่อสารจากประเทศออสเตรเลีย โดยมี Zoom เป็นผู้สนับสนุน

 

งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบที่มีต่อครูและผู้บริหารสถาบันการศึกษาในเอเชียแปซิฟิคซึ่งเป็นประเด็นที่ยังไม่ค่อยได้รับความสนใจ งานวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีบทบาทสำคัญ เช่น ครู ผู้นำหลักสูตร ผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม และผู้บริหารมหาวิทยาลัย

 

ดร.เจา สวีนี่ย์ ที่ปรึกษาจาก IBRS กล่าวว่า การระบาดของโควิด 19 ทำให้เราเห็นความความสามารถในการปรับตัวได้เป็นอย่างดีของภาคการศึกษา โดยสถาบันการศึกษาสามารถใช้เครื่องมือดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วเพื่อมอบประสบการณ์การเรียนรู้ที่ต่อเนื่องและเข้าถึงได้ง่ายแก่นักเรียน และเพื่อช่วยให้ครูรับมือกับการเรียนการสอนที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เราจำเป็นต้องบูรณาการดิจิทัลโซลูชั่นและแพลตฟอร์มต่างๆ เข้ากับระบบนิเวศที่มีความสอดคล้องกัน และสามารถทำให้การเรียนการสอนทั้งแบบการเรียนการสอนในห้องเรียนและแบบออนไลน์เป็นเรื่องสะดวก

 

ริคกี้ คาเปอร์, หัวหน้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค จาก Zoom กล่าวว่า Zoom มุ่งมั่นในการช่วยให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษา นั่นหมายความว่า เราให้การสนับสนุนครูด้วยแพลตฟอร์มทางด้านเทคโนโลยีในการสร้างอนาคตของการศึกษาหลังโควิด 19 ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามสถาบัน ดังที่รายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่า เทคโนโลยีด้านการสื่อสารมีความสำคัญอย่างมากที่จะช่วยให้ครูทำการสอนทางไกลอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตรงตามวัตถุประสงค์ และทำนักเรียนรู้สึกมีส่วนร่วมมากที่สุด

 

ประเด็นสำคัญในรายงาน  “อนาคตการศึกษา: บทเรียนจากครูผู้สอน”

 

• สร้างเวลาหน้าจอ (screen time) ที่มีความหมาย: สถาบันการศึกษาทุกสถาบันที่เข้าร่วมการวิจัยมีความคิดเห็นว่า เวลาหน้าจอจำเป็นต้องได้รับการบริหารจัดการอย่างเป็นรูปธรรมโดยโรงเรียน สถาบันการศึกษาจำเป็นต้องทำให้การเรียนการสอนออนไลน์เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสมดุลกับการเรียนการสอนรูปแบบอื่นๆ การบันทึกวิดีโอและการทำงานร่วมกันสามารถนำไปใช้เพื่อกำหนดเวลาหน้าจอและค้นหาว่ายังมีสิ่งใดที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนา

 

● คอนเทนต์แบบ  Drag and drop ไม่มีประโยชน์: ในช่วงต้นของโควิด 19 ครูหลายคนเพียงแค่นำข้อมูลความรู้ที่มีอยู่เข้าไปในระบบ Learning Management System (LMS) เพื่อสอนนักเรียน อย่างไรก็ตามงานวิจัยพบว่า นักเรียนไม่พึงพอใจกับคอนเทนต์แบบ  Drag and drop  โดยสถาบันการศึกษาทั้งในระดับ K-12 และอุดมศึกษารายงานว่า การเรียนการสอนแบบผสมผสานจำต้องมีการเปลี่ยนแปลงในด้านของคอนเทนต์ นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงด้านวิธีการเรียนการสอน ผู้สอนยังพบว่าการแลกเปลี่ยนคอนเทนต์ออนไลน์ทำได้ง่ายกว่า และยังง่ายกว่าด้วยที่จะทำงานร่วมกันกับผู้สอนคนอื่นๆในการสอนออนไลน์

 

● การเข้าถึงอย่างเท่าเทียมมีความสำคัญ: สถาบันการศึกษาทุกสถาบันที่เข้าร่วมการวิจัยรายงานว่า นักเรียนบางคนมีปัญหาเรื่องการเชื่อมต่อหรือไม่มีอุปกรณ์ที่จะช่วยให้พวกเขามีส่วนร่วมกับการเรียนออนไลน์ได้อย่างเต็มที่ แม้ว่าปัญหานี้จะเป็นเกี่ยวข้องกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน บางโรงเรียนมีการปรับเปลี่ยนการสอนเพื่อจำกัดแบนด์วิธ เช่น ใช้วิดีโอที่มีความยาวและขนาดที่สั้นลง ย่อเนื้อหาการเรียนรู้ ฯลฯ

 

● สร้างบรรทัดฐานใหม่สำหรับการศึกษาแบบ timeshifting: สถาบันการศึกษาหลายสถาบันพบปัญหาด้านเวลาของผู้สอนและความคาดหวังของนักเรียน เนื่องจากนักเรียนนำกรอบทางสังคมของการสื่อสารกับเพื่อนไปใช้กับการมีปฏิสัมพันธ์กับครู ส่งผลให้เกิดความคาดหวังที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง เป็นความคาดหวังว่าครูสามารถตอบข้อความในตอนกลางคืน ดังนั้นจึงควรลงทุนในโซลูชั่นด้านการศึกษาที่รองรับการเรียนรู้แบบ timeshift โดยใช้รูปแบบการสื่อสารต่างๆ

 

● การให้ความสำคัญการพัฒนาทางอาชีพสำหรับครู: สถาบันการศึกษาที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีรายงานว่า ข้อจำกัดด้านเวลาสำหรับการพัฒนาด้านอาชีพเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงมากที่สุด พฤติกรรมการสอนของครูในแต่ละยุคทำให้เกิดความกังวลว่าครูอาวุโสอาจจะไม่คุ้นเคยกับการฝึกอบรมเพื่อใช้เครื่องมือดิจิทัล อย่างไรก็ตามพบว่าครูหลายคนยังต้องการการฝึกอบรมออนไลน์ เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในระหว่างการแพร่ระบาดของโควิด 19

 

ทั้งนี้ งานวิจัยฉบับนี้ IBRS ได้จัดทำขึ้นจาการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 12 เคส ระหว่างเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ โดยผู้ให้สัมภาษณ์เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการให้การศึกษาโดยตรง อาทิ ผู้จัดทำหลักสูตร ผู้พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการศึกษา หัวหน้าครู และกัวหน้าศูนย์การเรียนรู้ เป็นต้น

 

นอกจากบทบาทของผู้ใหสัมภาษณ์แล้ว งานวิจัยชิ้นนี้ ยังสุ่มตัวอย่างการสัมภาษณ์จากสถาบันการศึกษาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคที่มีสถานะทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน นอกจากนั้น IBRS ยังรวมเอาข้อมูลที่ได้มาจากการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องในภาคการศึกษาอีกกว่า 60 ครั้ง และผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 390 คน ตั้งแต่ปี 2564

Scroll to Top